ISO 50001:2018

ISO 50001:2018

     ISO 50001 คือ ระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล (Energy Management System : EnMS) ระบบแรกในโลกที่พัฒนาขึ้นจากมาตรฐานระดับชาติและภูมิภาคต่าง ๆ มีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2011 (ISO 50001:2011) โดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization หรือเรียกอย่างย่อว่า ISO) ซึ่งมาตรฐาน ISO 50001 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้องค์กรดำเนินการปรับปรุงสมรรถนะพลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เป็นกรอบในการบริหารจัดการพลังงานสำหรับธุรกิจการค้า โรงงานอุตสาหกรรม และองค์กรต่าง ๆ โดยมุ่งหวังในการลดการใช้พลังงานของโลกลงให้ได้ประมาณร้อยละ 60

ประโยชน์ของ ISO 50001

- ลดการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานให้คุ้มค่าการลงทุน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นภาระผูกพันทางกฎหมายของกิจการ

- ระบุจุดอ่อนและความเสี่ยงของแหล่งพลังงาน

- สร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการจัดการพลังงาน และการอนุรักษ์พลังงาน

- ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานแบบยั่งยืน ช่วยพัฒนาองค์กรให้แข่งขันในตลาดได้อย่างน่าสนใจ

- ผสานรวมกับระบบการจัดการคุณภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และระบบอื่นๆ ที่ใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย


ISO 50001 กับหลักการ PCDA 

1. การวางแผนพลังงาน (PLAN) : องค์กรดำเนินการทบทวนการใช้พลังงาน จัดทำดัชนีชี้วัดสมรรถนะขององค์กรในด้านพลังงานและกำหนดแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลที่จะปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานให้เป็นไปตามนโยบายพลังงานขององค์กร โดยการวัดและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานและปริมาณการใช้พลังงาน

2. การปฏิบัติ (DO) : องค์กรนำแผนปฏิบัติการต่าง ไปปฏิบัติ ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินการในด้านอื่นๆ ที่จะทำให้ระบบการจัดการพลังงานมีความยั่งยืนดังนี้ ด้านการออกแบบและการจัดซื้อ สำหรับกระบวนการ เครื่องจักรที่มีนัยสำคัญและมีผลกระทบต่อสมรรถนะพลังงาน รวมถึงการบริการด้านพลังงาน ด้านการควบคุมการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษา เฉพาะกระบวนการหรือเครื่องจักรที่มีนัยสำคัญและมีผลกระทบต่อสมรรถนะพลังงาน ด้านระบบเอกสาร ซึ่งจะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและการควบคุมเอกสาร ด้านการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้านพลังงานของคนในองค์กร ด้านความสามารถ การฝึกอบรมและความตระหนัก

3. การตรวจสอบ (CHECK) : องค์กรเฝ้าติดตามและตรวจสอบการดำเนินการรวมถึงแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการกำหนดแผนในการเฝ้าระวังและการตรวจติดตามตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อสมรรถนะพลังงาน ซึ่งในการตรวจสอบยังรวมไปถึงการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการพลังงานที่จะต้องทำเป็นประจำทุกปี และหากพบข้อบกพร่องหรือแนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่องจะต้องดำเนินการปฏิบัติการแก้ไขและปฏิบัติการป้องกันทันที

4. การทบทวน (ACT) : องค์กรดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบ เพื่อปรับปรุงสมรรถนะขององค์กรด้านพลังงาน ซึ่งส่งผลให้ระบบมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยองค์กรจะต้องดำเนินการทบทวนโดยฝ่ายบริหารทุกๆ ปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการจัดการพลังงานยังคงอยู่ และมีการปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

แบบฟอร์มเสนอราคา

คำอธิบายแบบฟอร์ม
Visitors: 83,005